ผังงานแบบลำดับ (sequential flowchart) เป็นผังงานที่มีโครงสร้างการกระทำตามลำดับกิจกรรมก่อนหลังที่เรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ การเขียนผังงานแบบลำดับจะเป็นโครงสร้างที่ง่ายที่สุดเหมาะสำหรับงานที่ไม่มีความซับซ้อน ไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไข และไม่ต้องการทำงานซ้ำ ๆ แต่ในบางครั้งผังงานแบบลำดับมักจะไปรวมอยู่ในผังงานแบบเลือก และแบบทำซ้ำในกรณีที่มีกิจกรรมทำงานต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยส่วนมากจะเป็นการจัดวาง กิจกรรมจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา
ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบลำดับ
2. ผังงานโปรแกรมของการทํางานแบบทางเลือก
ลักษณะของแบบสองทางเลือก (double selection) จะประกอบด้วย 1 เงื่อนไข และ 2 กิจกรรม หลักการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง จะทำกิจกรรมที่ 1 แล้วออกจากโครงสร้าง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ จะทำกิจกรรมที่ 2 แล้วออกจากโครงสร้าง และทำตามลำดับต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดสุดท้ายของผังงาน
ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบทางเลือก
3. การเขียนผังงานแบบวนซ้ำ
คือ โครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ โครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ และลักษณะการทำงานของโครงสร้างแบบนี้มี 2 แบบ ได้แก่ แบบที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำทุกครั้งก่อนดำเนินการกิจกรรมใดๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานซ้ำไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า การทำซ้ำแบบ do while และแบบที่ทำกิจกรรมซ้ำเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้วจึงหยุดการทำงาน โดยแต่ละครั้งที่เสร็จสิ้นการดำเนินการแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจอบเงื่อนไข เรียกการทำซ้ำลักษณะนี้ว่า การทำซ้ำแบบ do until ผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานของโครงสร้างแบบทำซ้ำทั้งสองแบบแสดงดังรูปด้านซ้ายมือ | |
ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบวนซ้ำ
No comments:
Post a Comment